วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ทุ่งทานตะวัน

ทุ่งทานตะวันบานแล้ว ที่ ม.ราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
 





 

แม้ในพื้นที่ จ.สุรินทร์จะยังไม่หนาวเย็นมากนัก แต่อุณหภูมิที่ลดลงเริ่มทำให้ต้นทานตะวัน ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ ทีปลูกไว้ที่บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเริ่มเบ่งบานมากขึ้น ถึงแม้จะยังไม่บานเต็มสวนก็ตาม แต่ก็พบว่ามีประชาชนและนักท่องเที่ยวเริ่มให้ความสนใจเดินทางมาชมความงามและเก็บภาพบรรยากาศทุ่งทานตะวันไว้เป็นที่ระลึกกันอย่างไม่ขาดสาย โดยเฉพาะในช่วงเช้าและช่วงเย็นในแต่ละวัน และกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและบันทึกภาพแห่งใหม่ของ จ.สุรินทร์ไปแล้ว ขณะที่คู่บ่าวสาวก็มักจะพากันมาถ่ายรูปคู่ที่สวนทานตะวันแห่งนี้อีกด้วยเช่นกัน


สำหรับสวนทานตะวันดังกล่าว นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสุรินทร์ ปลูกไว้ โดยเป็นวิชาเรียนพืชเศรษฐกิจ และมักจะปลูกในช่วงปลายฝนต้นหนาว เพื่อเป็นกิจกรรมในการเรียนรู้ เพื่อฝึกฝนเด็กนักเรียนนักศึกษาให้ปลูกพืชเกษตรหลายๆพืช โดยเฉพาะต้นทานตะวันที่ปลูกบนพื้นที่กว่า 8 ไร่ จนสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อนแห่งใหม่ให้กับประชาชนได้อีกด้วย.


ผ้าไหมสุรินทร์

คำว่า “โฮล” เป็นภาษาเขมร แปลว่าไหล อันสื่อความหมายถึง การไหลมาเทมาของเงินทองเกียรติยศ ชื่อเสียง และความมั่งคั่งของผู้สวมใส่ ผ้าไหมโฮล ยังหมายถึง ผ้าไหมลายน้ำไหลซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน
ผ้าโฮล เป็นผ้าทอพื้นเมืองสุรินทร์ และเป็นราชินีแห่งผ้าไหมเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวสุรินทร์ ตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย สืบทอดมาสู่รุ่นลูกหลานผ้าโฮลเป็นผ้าที่มีสีสันและลวดลายเด่น ลักษณะการทอจะเป็นจุดประสลับกับเส้นตรง ใช้ไหมคู่ 2 สีทอสลับกันเป็นลายตลอดไปทั้งผืน บางแห่งเรียกโฮลใบไผ่เนื่องจากมีลักษณะเป็นลายริ้วสลับกับลายมัดหมี่ ที่มีความกว้างประมาณครึ่งนิ้ว สลับกันไปดูคล้ายใบไผ่ ส่วนลายริ้วเปรียบเสมือนก้านใบไผ่เมื่อดูภาพรวมของลายผ้าจะคล้ายป่ามีปล่องช่องเขา มีลำธารน้ำ โฮลแดงเป็นการผสมผสานระหว่างลวดลายโบราณแต่มีการย้อมสีให้ออกสีแดงโดยใช้สีธรรมชาติในการมัดย้อม จึงเรียกว่า โฮลแดง นับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษในหมู่บ้านปราสาทเบงหมู่ที่ 14 ตำบลกาบเชิง อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

ผ้าโฮล เป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษสืบต่อกันมามีความสวยงาม ประณีต ในการทอ ถือเป็นเอกลักษณ์ของชาวสุรินทร์ กรรมวิธีในการทอผ้าทุกผืนจะต้องมีชายดังคำพังเพยของคนโบราณที่ว่า “ผู้หญิงสวยหน้า ทอผ้าสวยชาย” ลักษณะการทอชายผ้าหรือริมผ้าจะแตกต่างจากการทอผ้าชนิดอื่น คือมีการดึงเส้นไหมที่อยู่ชายผ้าตลบย้อนกลับเข้ามาในผืนผ้าเป็นการเก็บชายผ้า ทำให้ผ้าไม่ขาด และชายผ้าหนาขึ้น ดูแลรักษาง่าย และที่สำคัญการมัดย้อมจะเริ่มต้นด้วยการย้อมสีแดงจากครั่งซึ่งเป็นสีที่ติดทนนาน สีไม่ตก ไม่หดตัว จึงถือว่าสีแดงเป็นเอกลักษณ์ของผ้าโฮล เหมาะสำหรับการนำไปตัดเย็บเพื่อสวมใส่หรือแปรรูปเป็นกระเป๋าก็ได้
ผ้าไหมมัดหมี่โฮลเปรียบเสมือนงานศิลปะ ที่ศิลปินในอดีตได้จินตนาการและคิดค้นขึ้นมา สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เป็น
ภูมิปัญญาที่ทรงคุณค่าในปัจจุบัน


ผ้าโฮลเป็นผ้ามัดหมี่ที่ถูกประยุกต์มาจากผ้าปูมของเขมร จัดว่ามีลวดลายและกรรมวิธีการผลิตที่ซับซ้อนมาก เอกลักษณ์ของลายผ้าจังหวัดสุรินทร์ มีที่มาจาก กลุ่มชนที่อาศัยในพื้นที่ ซึ่งเป็นชาวไทเขมร ที่อพยพมาจากเขมร และชาวไทกูย ซึ่งอพยพมาจากลาว สุรินทร์จึงมีภาษาและวัฒนธรรมแตกต่างจากจังหวัดอื่น ๆ ในภาคอีสาน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ สะท้อนไปสู่ผ้าของสุรินทร์ที่ล้วนแล้วแต่มีความพิเศษและน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น ผ้ายก ผ้าอันปรม ผ้าสมอ ผ้าละเบิก ผ้ากระนิว(หางกระรอก) ผ้าชะโน๊ดลื้อ(ลายลูกแก้ว) ผ้าตรุยสะแน๊ ผ้าสาคู หรือ ผ้าโฮล ซึ่งถือว่าเป็นผ้าที่มีค่าสูงสุดในบรรดาผ้าสุรินทร์ทั้งหมด

มัดหมี่โฮลเป็นผ้าไหมมัดหมี่ทอจากเส้นไหมน้อยที่มีขนาดเล็กละเอียด มีภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ลายผ้า 2 ลายด้วยการมัดหมี่ในครั้งเดียว ได้แก่ ผ้าโฮลเปราะย์ ของผู้ชาย และ ผ้าโฮลเสร็ย ของผู้หญิง โดยเมื่อนำมาทอเป็นผ้าโฮลเสร็ย จะใช้วิธีการดึงลายให้เกิดลวดลายอีกแบบหนึ่งและเพิ่มองค์ประกอบของลวดลายเพิ่มเข้าไปซึ่งทำให้แตกต่างจากลายโฮลเปราะห์ ที่เป็นการอำพรางลายผ้าโฮลแบบของผู้ชายเอาไว้ รูปแบบลายมัดหมี่โฮลเหมือนสายน้ำไหล ซึ่งตามภาษาท้องถิ่นนั้น โฮลแปลว่าน้ำไหล ลายของผืนผ้า มีลักษณะเป็นลายริ้ว คล้ายก้านไผ่ และใบไผ่ คั่นด้วยเส้นไหมหางกระรอก มีความหมายว่า ความกลมเกลียวในหมู่คณะ



สีสันที่ย้อมเส้นไหม เป็นสีย้อมธรรมชาติที่แสดงเอกลักษณ์ของพื้นถิ่น สีหลักบนพื้นผ้าเป็นสีแดงเข้มที่ย้อมมาจากครั่ง ผสมผสานด้วยสีย้อมธรรมชาติอื่น ๆ ทั้งหมด 3 สี ได้แก่ เหลือง แดง น้ำเงิน มาผสมให้ได้ 5 สี คือ เหลือง แดง น้ำเงิน ม่วง (จากการผสมน้ำเงินกับแดง) และ เขียว (จากการผสมเหลืองกับน้ำเงิน) โดยย้อมสีแดงที่ได้จากครั่งเป็นอันดับแรก ตามด้วยสีเหลืองจากแก่นเขหรือแกแล และย้อมสีน้ำเงินด้วยครามเป็นลำดับสุดท้าย ในบางครั้งอาจจะมีการใช้สีย้อมธรรมชาติอื่น ๆ ที่พบได้ในท้องที่ เช่น สีดำได้จากผลมะเกลือ สีเขียวเหลืองได้จากเปลือกประโหด ส่วนใหญ่เนื้อผ้าด้านหนึ่งมักเป็นสีอ่อน อีกด้านหนึ่งเป็นสีเข้มกว่า อันเนื่องมาจาก ใช้ลายขัด 3 ตะกอในการทอ ไม่ได้ทอด้วยลายขัด 2 ตะกอแบบทั่วไป

ผ้าโฮลเป็นผ้าพิเศษ ที่จะถูกนุ่งในวันสำคัญ ๆ เท่านั้น ผ้าโฮลมีทั้งความสวยงาม และทรงคุณค่า ยาวนานจวบจนถึงปัจจุบัน

มหัศจรรย์งานช้าง


 จังหวัดสุรินทร์ ขอเชิญร่วมงาน "มหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์ ประจำปี 2557" ครั้งที่ 54 ระหว่างวันที่ 5-16 พ.ย. 2557 รวม 12 วัน ที่สนามกีฬาศรีณรงค์ และจัดงานแสดงช้าง ในวันเสาร์ที่ 15 และวันอาทิตย์ที่ 16 พ.ย. 2557  ณ สนามแสดงช้าง จังหวัดสุรินทร์

           ความเป็นมา

           เมื่อปี พ.ศ. 2498 มีการรวมช้างทั้งหมดในจังหวัดสุรินทร์ ขึ้นเป็นครั้งแรกมีการรวมกันประมาณ 200 เชือก ที่อำเภอท่าตูม โดยนายอำเภอท่าตูม คือ นายวินัย สุวรรณกาศ เป็นผู้จัดขึ้น ประชาชนทั่วไปให้ความสนใจมากนายอำเภอจึงดำริจัดงานช้างขึ้นครั้งแรกในเวลาต่อมา เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2503 ซึ่งเป็นการฉลองที่ว่าการอำเภอใหม่ โดยจัดบริเวณสนามบินเก่าอำเภอท่าตูม (ปัจจุบันคือที่ตั้งโรงเรียนประชาเสริมวิทย์) โดยการจัดงานในครั้งนั้นมีรายการแสดง การเดินขบวนแห่ช้าง การคล้องช้างการแข่งขันช้างวิ่งเร็ว และยังมีการแสดงรื่นเริงอื่น ๆ ประกอบอีกด้วย เช่น มีการแข่งเรือ, แข่งขันกีฬาอำเภอ ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จด้วยดี เพราะได้มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ ประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศสนใจมาก

           องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท.ปัจจุบัน คือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ททท.) จึงเสนอกระทรวงมหาดไทยให้การสนับสนุนจัดการแสดงเกี่ยวกับช้างของจังหวัดสุรินทร์เป็นงานประเพณีและเป็นงานประจำปี โดยวางแผนประชาสัมพันธ์ทั้งในและนอกประเทศ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์พร้อมทั้งมีการจัดเจ้าหน้าที่มาฝึกช้าง กำหนดรูปแบบเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว กำหนดงานเมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2504 เป็นปีที่ 2 จัดที่ อำเภอท่าตูมเช่นเดิมงานช้างปีที่ 2 ประสบความสำเร็จด้วยดี มีหลักฐานยืนยันได้ คือ หนังสือพิมพ์เซ่นซีลอนอ๊อฟเซิฟเวอร์พิมพ์ในศรีลังกาลง วันที่ 2 ธ.ค. 2505 ข้อเขียนของมีสเตอร์อัลแฟน ซตาเร็กซ์เป็นนักข่าวชาวศรีลังกา มีโอกาสมาเที่ยวงานช้างจังหวัดสุรินทร์แล้วกลับไปเขียนเล่าไว้ตอนหนึ่งว่า "รายการนำเที่ยว ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างงดงามรายการหนึ่งของไทย ก็คือการนำชมการคล้องช้างซึ่งน่าดูยิ่งนักที่จังหวัดสุรินทร์ ในทุกเดือนพฤศจิกายนเป็นรายการที่ทำรายได้ถึง 50 รูปี เมื่อปีก่อน" (ปราโมทย์ทัศนาสุวรรณ.2519 : 243-245) การแสดงของช้างในปีต่อ ๆ มา ได้ปรับปรุงรูปแบบให้สวยงามน่าตื่นเต้นมากขึ้นเป็นลำดับโดยเฉพาะในรายการแสดงของช้าง ประกอบด้วยรายการต่าง ๆ ได้แก่ขบวนช้างพาเหรดช้างปฏิบัติตามคำสั่งช้างแสนรู้ ช้างวิ่งเร็ว ช้างวิ่งข้ามคน ช้างเตะฟุตบอลและขบวนช้างศึกเป็นอันว่าตั้งแต่มีการแสดงช้างของ จังหวัดสุรินทร์ ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2503 ก็ได้มีการจัดงานแสดงช้างต่อเนื่องมาทุกปีทำให้คนทั้งในประเทศรู้จักช้างจังหวัดสุรินทร์เป็นอย่างดีว่าเป็นจังหวัดที่มีช้างที่แสนรู้มากที่สุดต่อมาเมื่อการแสดงช้างเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมากขึ้นทางคณะกรรมการเห็นว่าควรย้ายสถานที่แสดงจากอำเภอท่าตูมมายังสถานที่ใกล้ไปมาสะดวกเพื่อความเหมาะสมจึงได้มาจัดการแสดงที่สนามกีฬาจังหวัดตั้งแต่ พ.ศ. 2505 เป็นต้นจนถึงปัจจุบัน
 
            นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เผยว่า จังหวัดสุรินทร์ เป็นดินแดนที่ได้ชื่อว่ามีการเลี้ยงช้างเป็นจำนวนมาก และมีการจัดงานแสดงของช้างเป็นงานประจำปี เพื่อแสดงถึงความสามารถของช้าง และเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์ ตลอดจนเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น ในงานจะมีการจัดนิทรรศการการออกร้านจำหน่ายสินค้าและการแสดงช้าง ซึ่งแสดงถึงวิถีชีวิตความผูกพันระหว่างช้างกับชาวสุรินทร์ การจำลองพิธีกรรมเกี่ยวกับการเลี้ยงช้าง เช่น การคล้องช้าง การชักเย่อคนกับช้าง ช้างแข่งฟุตบอล การจำลองขบวนช้างศึกสงครามยุทธหัตถี






                                              ภาพจาก surin.go.th
 กำหนดการ

           5-16 พ.ย. 57                  งานมหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์ ณ สนามกีฬาศรีณรงค์

           5 พ.ย. 57         

           เวลา 17.00 น.               เปิดงานมหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์  ณ สนามแสดงช้าง

           13 พ.ย. 57       

          เวลา 08.30-18.30 น.      ซ้อมใหญ่งานแสดงช้าง ณ สนามแสดงช้าง และประกวดรถอาหารช้าง ณ บริเวณหน้าอนุเสาวรีย์พระยาสุรินทร์ฯ
 
           14 พ.ย. 57       

           เวลา 08.00-12.00 น.     งานต้อนรับและเลี้ยงอาหารช้าง ณ จากสถานีรถไฟ ขบวนเคลื่อนมาบริเวณอนุเสาวรีย์พระยาสุรินทร์ ฯ

           เวลา 18.00 น.               งานแสดงแสง สี เสียง  ณ ปราสาทศีขรภูมิ อำเภอศีขภูมิ

          15 พ.ย. 57

           เวลา 09.00-12.00 น.     การแสดงช้างรอบแรก ณ สนามแสดงช้าง

           เวลา 18.00 น.               งานแสดง แสง สี เสียง ณ ปราสาทศีขรภูมิ อำเภอศีขรภูมิ

          16 พ.ย. 57                   

           เวลา 09.00-11.30 น.     การแสดงช้าง รอบสุดท้าย ณ สนามแสดงช้าง

           เวลา 21.00 น.               ออกสลากการกุศล ณ เวทีกลาง งานมหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์กีฬาศรีณรงค์


          ราคาบัตรเข้าชมงานแสดงช้าง
          1. วันซ้อมใหญ่ วันที่ 13 พ.ย. 57 เวลา 08.30 น. ราคา 40 บาท ทุกที่นั่ง

          2. วันที่ 15 ถึง 16 พ.ย. 57

          - ราคา 1000, 500, 300 บาท (บัตรนั่งตามเลขที่บัตร) การโอนเงินค่าบัตร ชื่อบัญชี งานแสดงช้างและงานกาชาด จังหวัดสุรินทร์ เลขที่บัญชี 310-0-71191-2 ธนาคารกรุงไทย สาขาสุรินทร์ บัญชีออมทรัพย์ หรือสามารถ ดาวน์โหลดใบจอง ได้ที่ www.surin.go.th  หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทรศัพท์ 0 4451 2039 

          - ราคา 40 บาท (บัตรยืน)

           ทั้งนี้นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถสั่งจองบัตรได้ที่สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ โทรศัพท์ 0 4451 2039 หรือเว็บไซต์ surin.go.th


วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เบ็นตุ้ย หรือ สารทเล็ก

เบ็นตุ้ย หมายถึง สารทเล็ก


            โดยมีความเชื่อที่ว่าบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วและยังไม่ได้ไปผุดไปเกิดจะ ถูกปล่อยให้กลับบ้านมารับเครื่องเซ่นไหว้จากลูกหลานได้ปีละครั้ง นั่นก็คือวัน แซนโฎนตา โดยหากบ้านไหนที่ลูกหลานไม่ได้จัดเตรียมของคาวหวานเครื่องเซ่นไหว้ไว้ให้ บรรพบุรุษจะรู้สึกเสียใจเป็นอย่างมาก ทั้งที่บ้านอื่นเขามีเครื่องเซ่นไหว้กิ่น อิ่มหมีพีมัน แต่บ้านตัวเองลูกหลานไม่สนใจ ไม่นึกถึง บรรพบุรุษจะสาบแช่งญาติหรือลูกหลาน ทำให้หากินฝืดเคือง
             แต่หากลูกหลานได้สำนึกนึกถึงและร่วมทำบุญแซนโฎนตา บรรพบุรุษจะอวยพรทำให้หากินเจริญรุ่งเรืองต่อไป อีกทั้งยังเป็นกุศโลบาย ที่ต้องการให้ญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่นได้กลับมาเจอกัน สืบสานสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไป





    
         เบ็นตุ้ย หรือ สารทเล็ก(สารทลาว)
         เป็นประกอบพิธีเซ่นไหว้บูชาบรรพบุรุษของชาวจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งสารทเล็กหรือแถวบ้านจะเรียกอีกอย่างว่าสารทลาวจะปฏิบัติและเซ่นไหว้ก่อนถึงวันสารทใหญ่ ซึ่งนิยมนำของเซ่นไหว้มารวมกันที่บ้านหลังใหญ่คือบ้านของปู่ย่าตายายผู้ล่วงลับไปแล้ว และประกอบพิธีเซ่นไหว้ด้วยกันเป็นครอบครัวใหญ่เครื่องเซ่นไหว้ก็มีทั่วไปเหมือนกับสารทเขมร

วันพฤษศาสตร์และวันข้าวใหม่หอมมะลิ

วันพฤษศาสตร์และวันข้าวใหม่หอมมะลิ



จังหวัด สุรินทร์ โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ กำหนดจัดงานวันพฤกษศาสตร์และวันข้าวใหม่หอมมะลิ ครั้งที่ 1 ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน นี้ ณ บริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเฉลิมพระชนม์ 80 พรรษา เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์และเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์สุรินทร์ ให้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้แก่ประชาชน 

นายกิตติภัทร์ รุ่งธนเกียรติ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า ประชาชนชาวสุรินทร์ ส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตร โดยข้าวหอมมะลิเป็นพืชหลัก ซึ่งข้าวที่เกษตรกรปลูกมีเอกลักษณ์ความโดดเด่น คือ “หอม ยาว ขาว นุ่ม” จึงได้จัดงานวันข้าวใหม่หอมมะลิ ขึ้นทุกปี เพื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมให้ข้าวหอมมะลิของจังหวัดสุรินทร์เป็นที่ รู้จักและยอมรับจากผู้บริโภคอย่างแพร่หลาย และยังเพิ่มช่องทางการตลาดและการจัดจำหน่ายให้แก่ผู้ที่ผลิตข้าวหอมมะลิใน จังหวัดสุรินทร์ ตลอดจนเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิได้ร่วมส่งเสริม และรักษาเอกลักษณ์ของข้าวหอมมะลิสุรินทร์ด้วย 

นอกจากนี้ อบจ.สุรินทร์ ยังส่งเสริมให้ประชาชนหันมาสนใจดูแลอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดงานวันพฤกษศาสตร์และวันข้าวใหม่หอมมะลิขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ ด้วยการนำไม้ดอก ไม้ประดับนานาชนิด มาจัดแสดงให้ผู้ร่วมงานได้ชม ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการปลูกไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ เป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลัก และเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดของผู้ผลิต ผู้ค้าพันธุ์ไม้ให้กับประชาชนผู้สนใจด้วย โดยได้เปิดให้เข้าเที่ยวชมงานได้ฟรี ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน นี้ ณ บริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเฉลิมพระชนม์ 80 พรรษา


OTOP จังหวัดสุรินทร์


     สินค้า OTOP/SMEs ที่จำหน่ายในงานประกอบด้วย สินค้าประเภทอาหาร ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ ข้ามหอมมะลิอินทรีย์ หัวผักกาดหวาน น้ำพริก หมูหยอง เป็นต้น ,สินค้าประเภทผ้า ได้แก่ ผ้าไหมสุรินทร์ ,ประเภทเครื่องแต่งกาย ได้แก่ เครื่องประดับทำจาก เงิน หินสี และงาช้าง ,ของใช้ของใช้ของที่ระลึก ได้แก่เครื่องหอมหน้ากากแฟนซี ใบบัววิจิตร ผ้าห่ม ไหมพรม และตะกร้าสาน และสินค้าประเภทสมุนไพร ที่ไม่ใช่อาหาร เช่น เครื่องสำอางสมุนไพร เป็นต้น



กาแฟขัดผิว

             




            กาแฟขัดผิว เป็นสินค้าโอท๊อปประเภทหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ จากการสอบถามแม่ค้าโดยได้ข้อมูลดังนี้ เมล็ดกาแฟที่นำมาผลิตเป็นการแฟที่ไปรับซื้อ  เพราะในพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ค่อนข้างจะเพราะปลูกได้ยาก ผู้ผลิตจึงไปซื้อเมล็ดกาแฟมาเพื่อแปรรูปเป็นผลิต การแฟขัดผิว ซึ่งมีราคาไม่แพงมาก กระปุกที่เห็นดังภาพ ราคา 50 บาท




เช้าวันแรกของสัปดาห์

เช้าวันแรกของสัปดาห์

เช้าวันที่กันยายน  57

ซึ่งเป็นวันแรกของสัปดาห์และก้อยังเป็นแรกของเดือนวันนี้ตื่นเช้า  (07.00 ปกติ ทุกวัน07.30-07.40)   หน่อยเพราะโดนหลอกว่าสายแล้วพอลืมตาขึ้นมาเท่านั้นแหละนาฬิกายังไม่ดูเลยต้องรีบวิ่งเข้าห้องน้ำอาบน้ำใช้เวลาอาบน้ำอย่างรวดเร็ว...........

พออาบน้ำเสดออกจากห้องน้ำก้อเริ่มเอ้ะใจว่าทำเพื่อนแต่งตัวดูไม่รีบร้อนอะไรเลย(ทั่งๆที่บอกกับเราว่ามันสายแล้ว)จากนั้นก้อเลยเดินไปหยิบโทรศัพท์มาเพื่อจะดูนาฬิกาปรากฏว่าพึ่งจะ 07.22  

(เราก้ออุตสารีบอาบน้ำเพื่อที่จะไปส่งให้ทันเข้าห้องเรียน 08.00 ในเช้าวันจันทร์)

เมื่อเรารู้ว่ายังไม่สายมากเพราะวันนี้เราเรียน 08.30 จึงเดินตรงไปเปิดคอมออนเฟสก่อนที่จะแต่งตัว

"วันแรกของสัปดาห์ไหนๆๆก้อโดนหลอกให้ตื่นแล้ววันนี้ใส่ช๊อปกางเกงยืนไปเรียนล่ะกัน" แต่งตัว.....แต่งตัวๆๆๆๆ   

 เวลาประมาณ 07.50 ต้องขับมอไซต์ไปส่งเพื่อนที่ มอ.  (หน้าอาคาร ) แล้วก้อต้องขับมอไซต์กับมาที่หอพักอีกครั้งเพื่อที่จะมาเอากระเป๋ากะสมุด

 แต่ระหว่างทางกับมี ร้านขายหมูปิ้งยุสองสามร้านผ่านแรก(จะซื้อดีไหมน้อ)จะถึงร้านที่สองไม่คิดไรมากจอดซะพอได้ของกินแล้วก้อรีบขับรถกับหอพักทันทีถึงห้องยังมีเวลาเหลือประมาณ 30 นาที 

กินๆๆๆเล่นเฟสๆๆๆ ดูนาฬิกาอีกที 08.23 รีบเก็บกระเป๋าสมุดปากกา แล้วขับมอไซต์ออกจากหอพักอีกครั้งเพื่อไปส่งเองเข้าเรียนให้ทันเวลา พอมาถึงห้องเรียนประมาณ นาที อาจารย์ก้อเข้ามาสอนๆๆๆๆๆ แล้วนักศึกษาทุกคนก้อเรียนๆๆๆๆๆ

วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

หมู่บ้านช้าง

ศูนย์คชศึกษาหมู่บ้านช้างบ้านตากลาง

     หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง จ.สุรินทร์ นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมวิถีความเป็นอยู่ ความผูกพันของคน ชุมชนและช้าง รวมทั้งประเพณีและวัฒนธรรมที่น่าชื่นชมอย่างเต็มอิ่ม ชาวกวยแต่ละครัวเรือนจะมีช้างที่เลี้ยงไว้อาศัยอยู่รวมกัน จนช้างที่พวกตนเลี้ยงไว้เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวของตน ก่อให้เกิดสายใยความผูกพันที่แน่นเฟ้นขึ้นระหว่างคนกับช้าง ณ บ้านตากลาง จ. สุรินทร์ (หมู่บ้านช้างเลี้ยงใหญ่ที่สุดในโลก) โดยมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
     • สนามแสดงช้างแสนรู้ จะมีการแสดงความสามารถอันเฉลียวฉลาดและน่ารักของช้างในศูนย์ฯ อาทิ ช้างเต้นรำ ช้างวาดรูป ช้างปาลูกโป่ง ช้างเตะฟุตบอล ฯลฯ โดยจะเปิดการแสดงทุกวัน วันละ ๒ รอบ คือ ๑๐.๓๐ น. และ ๑๔.๓๐ น. ไม่เว้นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์
     อาคารพิพิธภัณฑ์ เป็นสถานที่แสดงเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับช้าง อาทิ วิวัฒนาการของช้าง ช้างในยุคต่างๆ โครงกระดูกช้าง โรคที่เกี่ยวข้องกับช้าง เครื่องมือในการคล้องช้าง ภาพวิธีการจับช้างในรูปแบบต่างๆ ลักษณะสำคัญของช้าง อาหารและยาสมุนไพรช้าง วิถีความผูกพันระหว่างคนกับช้าง พิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับช้าง ขั้นตอนวิธีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับช้างที่เสียชีวิต วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวกวยหรือกูย เป็นต้น
     • ศาลปะกำ ที่เป็นเสมือนเทวาลัยสิงสถิตของวิญญาณบรรพบุรุษและผีปะกำ ตามความเชื่อของชาวกวยหรือกูย นิยมปลูกสร้างไว้ในชุมชนคุ้มบ้าน
     • วังทะลุ ห่างจากหมู่บ้านช้างเพียง ๓ กิโลเมตร ที่นี่เป็นบริเวณที่แม่น้ำมูลไหลและลำน้ำชีมาบรรจบกัน ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี "วังทะลุ" เป็นสายน้ำที่แวดล้อมไปด้วยป่าที่กว้างใหญ่ไพศาล ก่อให้เกิดเป็นทัศนียภาพที่งดงามซึ่งหาชมได้ยาก ยังมีความอุดมบูรณ์ทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ อีกทั้งยังเป็นที่อาบน้ำของช้างในหมู่บ้านยามเย็น
  
งานช้างและงานกาชาดสุรินทร์
     งานช้างสุรินทร์ (เทศกาลงานช้างและงานกาชาดในจังหวัดสุรินทร์) จะจัดขึ้นทุกปีในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยการแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์จะจัดขึ้นที่ สนามกีฬาศรีณรงค์จางวางและสนามแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์ โดยในวันงานจะมีการประกวดขบวนรถอาหารช้าง และมีการเลี้ยงบุฟเฟต์ผลไม้ต่างๆที่ช้างโปรดปราณ ชมขบวนแห่ช้างเข้าเมืองกว่า 300 เชือก ส่วนการแสดงช้างจะมีการแสดงความสามารถต่างๆของช้าง เช่น ช้างเต้นรำ ช้างวาดรูป ช้างปาลูกโป่ง ช้างเตะฟุตบอล ส่วนการแสดงที่อลังการน่าตื่นตาตื่นใจและไม่ควรพลาดคือ การแสดงจำลองสงครามที่คนในสมัยก่อนใช้ช้างในการทำสงคราม ในการทำยุทธหัตถีบนหลังช้าง โดยการแสดงดังกล่าวใช้นักแสดงหลายร้อยชีวิตและดูสมจริงมากๆ

หมู่บ้านทอผ้าไหม เขวาสินรินทร์

หมู่บ้านทอผ้าไหม

    
หมู่บ้านทอผ้าไหม เขวาสินรินทร์   อยู่ตำบลเขวาสินรินทร์ กิ่งอำเภอเขาวสินรินทร์ เป็นหมู่ บ้านที่มีชื่อเสียง ในด้าน การทอผ้าไหมไทยพื้นเมือง และ การผลิตลูกประคำเงิน ลูกประคำทอง ที่เป็นเอกลักษณ์ ของหมู่บ้าน ซึ่งเรียกกันว่า ลูกประเกือม นำมาเป็นเครื่องประดับ ของสุภาพสตรี ที่สวยงาม ชนิดหนึ่ง นักท่องเที่ยว สามารถ เข้าเยี่ยมชม การทอผ้าไหม การสาวไหม และซื้อสินค้า พื้นเมือง ที่ผลิตขึ้นเอง ในราคาถูกหมู่ บ้านเขวาสินรินทร์ ตั้งอยู่ ทางทิศเหนือ ของอำเภอเมืองสุรินทร์ มีถนนลาดยาง รพช.เข้าถึงหมู่บ้าน ซึ่งแยก จากถนนสาย สุรินทร์-ร้อยเอ็ด (ทางหลวงหมายเลข 214) ประมาณกิโลเมตรที่ 14 แยกขวามือ เข้าทางลาดยาง อีกประมาณ 2 กิโลเมตร